ยอห์นผู้ให้บัพติศมา - โทเลโด ของ ยอห์นผู้ให้บัพติศมา (การาวัจโจ)

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา
ศิลปินการาวัจโจ (ยังไม่เป็นที่ตกลงกัน)
ปีราว ค.ศ. 1598
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่พิพิธภัณฑ์เตโซโร คาเทดราลลิชิโอ, สเปน
เอบราฮัมสังเวยไอแซ็ค” โดยการาวัจโจราว ค.ศ. 1598 (รายละเอียดแสดงส่วนหัวของไอแซ็ค) - ความคล้ายคลึงกันระหว่างการวางท่าของทั้งสองภาพนี้ทำให้เห็นได้ว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมาฉบับโทเลโดเขียนโดยจิตรกรคนเดียวกัน

การบ่งว่าภาพนี้เขียนโดยการาวัจโจยังเป็นข้อที่ตกลงกันไม่ได้ จิตรกรอีกผู้หนึ่งที่อาจจะเป็นผู้เขียนก็คือบาร์โทโลเมโอ คาวารอซซิ ผู้ติดตามงานของการาวัจโจในระยะแรก ปัจจุบันภาพนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เตโซโร คาเทดราลลิชิโอที่โทเลโดในประเทศสเปน ยอห์น แกชตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะเป็นภาพเขียนภาพหนึ่งที่เขียนให้กับนักบวชที่โรงพยาบาลคอนโซชันที่นักเขียนชีวประวัติของการาวัจโจจุยเลียโน มันชินิกล่าวถึง มันชินิกล่าวว่าหลังจากนั้นนักบวชก็ “นำติดตัวกลับบ้านเมือง” แต่ “บ้านเมือง” ที่มันชินิกล่าวถึงเป็นเซวิลล์และอีกที่หนึ่งกล่าวว่าเป็นซิซิลี ในปี ค.ศ. 1593 โรงพยาบาลคอนโซชันมีนักบวชชาวสเปนประจำอยู่คนหนึ่งและอาจจะไม่ได้ออกจากโรงพยาบาลจนกระทั่งเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1595 แกชอ้างความเห็นของนักวิชาการ เอ.อี. เปเรซ ซานเชซที่กล่าวว่าแม้ว่าลักษณะการเขียนนักบุญยอห์นจะคล้ายกับลักษณะการเขียนของคาวารอซซิแต่ส่วนอื่นของภาพไม่ใช่ “และคุณภาพการเขียนขององค์ประกอบในภาพเป็นฝีมือที่เยี่ยม โดยเฉพาะความงามของการเขียนเถาองุ่น...ที่เป็นลักษณะการเขียนของการาวัจโจ” นอกจากนั้นแกชก็ยังชี้ให้เห็นการใช้ค่าต่างแสงหรือแสงเงาที่ตัดกันที่ทำได้อย่างนุ่มนวล เช่นเดียวการเขียนโค้งเว้าของร่างของนักบุญซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับงานเขียนในสมัยแรกๆ ของการาวัจโจเช่นในภาพ “นักดนตรี” and “นักบุญฟรานซิสปลื้ม” ถ้าภาพเขียนนี้และภาพเขียนอื่นของการาวัจโจถูกนำไปเซวิลล์จริงตามที่กล่าวแล้วก็อาจจะเป็นได้ว่าเป็นภาพที่สร้างความประทับใจให้แก่เดียโก เบลัซเกซที่แสดงให้เห็นในงานเขียนในระยะแรก แต่เหตุผลสนับสนุนว่าเป็นภาพที่เขียนโดยคาวารอซซิก็เป็นเหตุผลที่หนักแน่นและเป็นที่ทราบกันว่าคาวารอซซิมีโอกาสเดินทางไปสเปนราวระหว่างปี ค.ศ. 1617 ถึงปี ค.ศ. 1619[3]

ปีเตอร์ รอบบ์เชื่อว่าเป็นภาพที่เขียนโดยการาวัจโจที่เขียนราวปี ค.ศ. 1598 เมื่อการาวัจโจพำนักอยู่กับผู้อุปถัมภ์คนสำคัญคนแรกคาร์ดินัลฟรานเชสโค มาเรีย เดล มอนเต รอบบ์ชี้ให้เห็นว่าผู้เป็นแบบสำหรับนักบุญเป็นคนคนเดียวกับผู้เป็นแบบสำหรับไอแซ็คในภาพ “เอบราฮัมสังเวยไอแซ็ค” ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่าเป็นภาพที่เขียนในระยะเวลาเดียวกัน แต่ภาพ “สังเวยไอแซ็ค” เองก็มีปัญหาในเรื่องใครเป็นผู้เขียนแน่เช่นกัน

ฉากหลังของภาพเป็นเถาองุ่นเขียวที่มีหนาม ด้านหน้าภาพนักบุญยอห์นนั่งอยู่บนเสื้อคลุมสีแดงสดถือกางเขนใบหญ้า (reed) มองลงมายังลูกแกะที่นอนอยู่ที่เท้า เสื้อคลุมสีแดงหรือผืนผ้าสีแดงมักจะปรากฏในงานเขียนของการาวัจโจ ซึ่งมาจากงานเขียนที่ทำกันมาก่อนหน้านั้น[4]

“ยอห์นผู้ให้บัพติศมา” มีลักษณะต่างๆ ที่เป็นจุดสนใจในการศึกษาเช่นเดียวกับภาพอื่นที่เขียนจากสมัยเดียวกัน การเขียนใบไม้ข้างหลังตัวแบบ, พรรณไม้ต่างๆ และดินรอบๆ เท้าของนักบุญเป็นไปอย่างบรรจงและอย่างละเอียด ที่มีลักษณะเหมือนภาพถ่ายหรือการเขียนจิตรกรรมภาพนิ่ง ที่เขียนในภาพ “กระจาดผลไม้” ขณะที่ท่าทางสงบซึมของนักบุญเป็นการสร้างบรรยากาศของความครุ่นคิด เถาองุ่นเป็นสัญลักษณ์ขององุ่นที่นำมาทำเป็นไวน์สำหรับพระกระยาหารมื้อสุดท้าย ขณะที่หนามบนเถาทำให้นึกถึงมงกุฎหนามที่พระเยซูทรงก่อนที่จะถูกตรึงกางเขน ส่วนลูกแกะก็เป็นสัญลักษณ์ของความเสียสละของพระองค์

การตัดสินใจของการาวัจโจในการเขียนภาพยอห์นผู้ให้บัพติศมาเมื่อยังหนุ่มเป็นหัวข้อที่ไม่ค่อยมีการเขียนกันนัก ส่วนใหญ่ที่มักจะเขียนกันก็เมื่อยังเป็นเด็กพร้อมกับพระเยซูหรือเป็นผู้ใหญ่เมื่อทำพิธีศีลจุ่มให้พระเยซูไปเลย แต่ก็มิได้หมายความว่าเป็นคนแรกที่เขียน ก่อนหน้านั้นเลโอนาร์โด ดา วินชี ก็ได้เขียนมาแล้วในภาพ “ยอห์นผู้ให้บัพติศมา (เลโอนาร์โด)” ของชายหนุ่มที่ยิ้มน้อยๆ อย่างมีเสน่ห์ลึกลับ (enigmatic) โดยมีมือหนึ่งชี้ขึ้นไปบนสวรรค์ (?) หรือในงานเขียนของอันเดรอา เดล ซาร์โตที่แทบจะเป็นแบบของภาพที่การาวัจโจเขียนต่อมา ทั้งดา วินชิและเดล ซาร์โตต่างก็สร้างภาพยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ดูเหมือนจะมีความหมายพิเศษสำหรับตนเองที่ไม่ใช่การเขียนภาพเพื่อผู้ชม ซึ่งการาวัจโจนำมาใช้ในการเขียนภาพหลายภาพในหลายหัวข้อที่ดูจะมีความหมายเป็นการส่วนตัว

ใกล้เคียง